เมนู

ด้วยสมถวิปัสสนาด้วยตนเอง ถึงความเป็นผู้เที่ยง ด้วยมรรคต้น มีมรรคอัน
ได้เฉพาะแล้ว ด้วยมรรคที่เหลือทั้งหลาย หรือมีญาณเกิดแล้ว ด้วยผลญาณ
ได้บรรลุแล้ว ซึ่งญาณทั้งปวง ด้วยตนเองเท่านั้น เพราะฉะนั้น ผู้นั้นชื่อว่า
อนญฺญเนยฺโย อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแล.
ทิฏฐิวิสูกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 22


คาถาว่า นิลฺโลลุโป ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า วิเสท (พ่อครัว) ของพระเจ้าพาราณสี ปรุงพระกระยาหาร
ในระหว่างน้อมเข้าถวาย ด้วยความปรารถนาว่า การเห็นโภชนะที่ฟูใจ เป็นรส
ที่ประเสริฐ ทำอย่างไรหนอ พระราชาพึงพระราชทานทรัพย์แก่เรา. พระ-
กระยาหารนั้นยังความประสงค์ที่จะเสวยให้เกิดขึ้นแก่พระราชาด้วยกลิ่นเท่านั้น
จึงทำให้พระเขฬะเกิดขึ้นในพระโอษฐ์ แต่พอพระองค์ทรงใส่พระกระยาหาร
คำแรกลงในพระโอษฐ์ ประสาทสำหรับรับรส 7 พัน ก็ซาบซ่านดุจถูกน้ำ
อมฤตฉะนั้น วิเสทคิดว่า บัดนี้ พระราชาจักทรงพระราชทานแก่เรา ฝ้าย
พระราชาทรงพระราชดำริว่า พ่อครัวสมควรแก่สักการะ แต่ครั้นทรงลิ้มรส
แล้ว ทรงพระราชดำริว่า เกียรติศัพท์ที่ชั่ว พึงระบือถึงเราผู้สักการะว่า
พระราชานี้เป็นผู้โลภติดในรส จึงไม่ตรัสอะไร ฝ่ายวิเสทก็คิดว่า พระราชา
จักพระราชทานรางวัลในบัดนี้ จนกระทั่งเสวยพระกระยาหารเสร็จอย่างนี้ แม้
พระราชาก็ไม่ตรัสอะไร เพราะทรงกลัวการติเตียน.